อดีตกองหน้าตำนาน หงส์ คอนเฟิร์มว่าใครเหมาะสมหน้าเป้าทีมลิเวอร์พูลที่สุดในเวลานี้
บทความ : ตำนานปีกนิลกาฬ หงส์ แดง มีความคิดเห็นสวนทาง เพราะเห็นว่าบ๊อบบี้ เฟอร์มิโน่ยังเหมาะสมกับตำแหน่ง 11 ตัวจริง โดยจะออกไปเยือน ทีมยักษ์ใหญ่จากเมืองแมนเชสเตอร์อย่างทีมเรือใบสีฟ้า แมนเชสเตอร์ซิตี้
บทความ : อดีตกองหน้าตำนาน หงส์ คอนเฟิร์มว่าใครเหมาะสมหน้าเป้าทีมลิเวอร์พูลที่สุดในเวลานี้ จากรายงานของ talk sport บอกว่าอดีตปีกตัวเก๋าอย่างจอห์น บาร์นส์ ของสโมสรยักษ์ใหญ่อย่างลิเวอร์พูล แชมป์ยุโรป 6 สมัยที่เพิ่งได้แชมป์พรีเมียร์ลีกมาในเมื่อปีก่อน ให้ความเห็นว่า ถึงแม้ดีเอโก้ โชต้า ที่กำลังมีฟอร์มดีวันดีคืน และเพิ่งทำแฮตทริกไปในเกมที่พบ อตาลันต้า ในศึก UCL ยังไม่น่าจะได้ถูกส่งลงเป็นตัวจริง 11 คนแรก ในเกมพรีเมียร์ลึกอังกฤษสุดสัปดาห์นี้ ที่จะต้องไปเยือนแมนเชสเตอร์ซิตี้ถึงสนามอัลติฮัด ในวันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน 2020
“โชต้า ที่ฟอร์มกำลังดี ยิงประตูได้เยอะ แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่าจะการันตีให้เขาได้ตำแหน่งตัวจริงโดยอัตโนมัติในเกมสุดสัปดาห์นี้ ผมคิดว่าการที่ใครจะได้ลงสนาม มันขึ้นอยู่กับแผนการเล่น และแผนการเล่นก็มาจากการที่เราต้องรู้ว่าเราเจอกับใคร ซึ่งมันจะส่งผลโดยตรงกับการจัดตัวผู้เล่น”
“การที่ได้เจอกับยอดทีมอย่างแมนซิตี้มันจะทำให้คุณไม่ได้เน้นเรื่องของการครองบอลถ้าเป็นบ๊อบบี้ลงเล่นในเกมนี้มันอาจจะเวิร์คกว่า เราจำเป็นต้องมีนักเตะแบบบ๊อบบี้ในสนาม เพราะมันไม่ใช่แค่เรื่องของเกมรุกที่สร้างสรรค์อย่างเดียว แต่บ๊อบบี้ยังสามารถลงมาช่วยเล่นในเกมรับได้ดีอีกด้วย ซึ่งถ้าเจอทีมอย่าง อตาลันต้า หรือ ลีดส์ พวกเขามีสไตล์เล่นเกมเปิด คุณก็สามารถส่งนักเตะแบบ โชต้า ลงไปวาดลวดลายบนพื้นหญ้า ในเกมแบบนั้นได้อย่างสบายๆ ” ตำนานปีกนิลกาฬการได้กล่าวเอาไว้
อย่างไรก็ตามเราจะได้รู้ใครจะได้เป็นตัวจริงในวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้อย่างแน่นอน ซึ่งเราก็หวังว่าลิเวอร์พูลจะยังคงรักษาฟอร์มการเล่นอันดุเดือด และรักษาตำแหน่งหัวตารางเอาไว้ได้ต่อไปจอห์น บาร์นส์
อ่านบทความข่าวกีฬา : แม็คไกวร์ เตือนเพื่อนในทีม อ่านข่าวกีฬาอื่นๆ เพิ่มเติม ติดตามพวกเราในช่องทาง Facebook : Ufaextrasport
ฟุตบอลยูโรปา ลีกวามคิดในเรื่อ
หลักฐานที่มีการอ้างถึงคอคอดในอเมริกากลาง ย้อนไปเมื่อปี ค.ศ. 1524 เมื่อจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และกษัตริย์แห่งสเปนพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า จักรพรรดิชาลส์ที่ 5 ได้ทรงแนะนำว่า การสร้างคลองผ่านปานามาจะสร้างความสะดวกในการเดินเรือสัญจรไปมาระหว่างสเปนกับเปรู[3] รวมไปถึงสร้างความได้เปรียบทางยุทธวิธีเหนือโปรตุเกส[4] ระหว่างการสำรวจโดยคณะสำรวจของพระองค์ระหว่างปี ค.ศ. 1788-1793 โดย อเลสซานโดร มาลาสปินาได้เสนอความเป็นไปได้และวางแผนโครงสร้างของคลอง[5]
อเมริกากลางถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ คือเป็นแผ่นดินที่มีลักษณะแคบ แบ่งโดยมหาสมุทรขนาดใหญ่ 2 มหาสมุทร ความพยายามที่จะเชื่อมการค้าเกิดขึ้นมานานหลายปีแล้วในบริเวณนี้ ในปี ค.ศ. 1698 สกอตแลนด์ได้พยายามเข้ามาตั้งฐานการค้าบริเวณคอคอดปานามา โดยใช้แผนดารีเอน แต่เนื่องจากเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ไม่เอื้ออำนวย ในที่สุดก็ได้ออกจากปานามาไปในปี ค.ศ. 1700[6] และในที่สุดการรถไฟในปานามาก็ได้เกิดขึ้นเพื่อข้ามคอคอดนี้ได้เปิดใช้ในปี ค.ศ. 1855 เส้นทางสัญจรนี้ได้เอื้อหนุนให้การค้ามีความสะดวกขึ้น และเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของการเลือกสร้างคลองเชื่อมคอคอดปานามาในภายหลัง
ดขึ้นอยู่หลายครั้ง
การรื้อฟื้นแนวความคิดในเรื่องการเชื่อมทางน้ำต่อกันระหว่างมหาสมุทรทั้ง 2 มหาสมุทรเกิดขึ้นอยู่หลายครั้งหลายครา อย่างทางเชื่อมผ่านนิการากัวก็ได้มีการสำรวจอยู่บ่อยครั้ง รวมทั้งคลองปานามา เองเป็นหนึ่งในสองโครงการขุดคลองที่เคยดำริมาตั้งแต่ยุคสเปนเรืองอำนาจคริสต์ศตวรรษที่ 16 แล้ว[7] จนในที่สุด การประสบความสำเร็จของการสร้างคลองสุเอซ รัฐบาลโคลอมเบียได้ให้สัมปทานกับนักผจญภัยชาวฝรั่งเศสชื่อ ลูเซียง นโปเลียน โบนาปาร์ต ไวส์ ในการขุดคลองซึ่งจะเชื่อมระหว่างสองมหาสมุทรในบริเวณจังหวัดปานามา และเขาได้ขายสัมปทานต่อให้กับบริษัทฝรั่งเศสที่บริหารโดยนายแฟร์ดีนอง เดอ เลสเซป ซึ่งดำเนินการขุดคลองปานามาในทันที[8] เขาได้เริ่มขุดคลองจากระดับน้ำทะเล (โดยไม่มีประตูกั้นน้ำ) เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1880 บริษัทฝรั่งเศสได้ทำงานอย่างรีบเร่งโดยขาดการศึกษาที่เพียงพอทั้งทางด้านภูมิประเทศและอุทกวิทยา[9] อีกทั้งโรคภัยไข้เจ็บในภูมิอากาศเขตร้อนที่คนงานก่อสร้างคลองต้องเผชิญทั้งโรคไข้เหลืองและมาลาเรีย คร่าชีวิตคนงานเป็นจำนวนมากและทำให้การก่อสร้างไม่คืบหน้าเท่าที่ควร[8] เป็นเหตุให้คนงานต่างหวาดกลัวและหนีกลับฝรั่งเศส[9] ในปี ค.ศ. 1883 บริษัทฝรั่งเศสที่ได้สัมปทานไม่สามารถทำงานต่อได้ เนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บและความลำบากในการขุดคลองในระดับน้ำทะเล การขาดประสบการณ์ภาคสนามของคนงาน อย่างเช่น การเก็บเครื่องมือที่เจอห่าฝนไม่ดี ทำให้เกิดสนิมจับ[10] แต่ปัญหาหลักคือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จากโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้น นับจำนวนคนที่เสียชีวิตระหว่างการขุดคลองปานามา (ระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1881 – 1889) ได้กว่า 22,000 คน[9]
จากหนังสือ Overthrow ของสตีเฟน คินเซอร์ในปี ค.ศ. 2006 ได้กล่าวไว้ว่าในปี ค.ศ. 1898 หัวหน้าคนหนึ่งในองค์การเกี่ยวกับคลองของฝรั่งเศส คือ ฟีลีป-ชอง บูโน-วารียา ได้จ้างวิลเลียม เนลสัน ครอมเวลล์ เพื่อโกงจากสภาคองเกรสของอเมริกา ที่จะสร้างคลองปานามา ไม่ใช่คลองที่ข้ามจากนิการากัว[11]
โดยสหรัฐอเมริกาได้เจรจากับรัฐบาลโคลอมเบียว่า หากสหรัฐอเมริกาลงทุนขุดคลองแล้วก็ขอให้สหรัฐอเมริกาเช่าพื้นที่บริเวณนั้นเพื่อดำเนินการควบคุมการเข้าออกของเรือที่ผ่านคลอง แต่การตกลงเรื่องราคาค่าเช่าที่ไม่ลงตัว รัฐบาลโคลอมเบียไม่ตกลงกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนั้นชาวปานามากลัวว่าโคลอมเบียจะไม่แบ่งผลประโยชน์ให้เท่าที่พวกตนควรได้ จึงได้ก่อการปฏิวัติขึ้นและประกาศตัวเป็นประเทศเอกราช ซึ่งสหรัฐอเมริกาเองได้รับรองการเป็นเอกราชของปานามา และยังได้ช่วยไม่ให้โคลอมเบียยกกองทหารเข้ามาปราบปรามชาวปานามา จนในที่สุดสหรัฐอเมริกาได้ทำสัญญากับปานามาในปี ค.ศ. 1903[12] โดยปานามายกกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นระยะทางกว้าง 10 กิโลเมตร ตลอดแนวทางที่สหรัฐอเมริกาจะขุดคลอง และรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ดำเนินการบริหารเป็นสิทธิขาดตลอดไป โดยสหรัฐอเมริกาจะจ่ายเงินตอบแทนให้ปานามาเป็นจำนวนเงิน 10 ล้านดอลลาร์ และจะให้เป็นประจำทุกปี อีกปีละ 250,000 ดอลลาร์[8] ส่วนสหรัฐอเมริกาก็ได้จ่ายเงินให้แก่โคลอมเบียเป็นเงิน 25 ล้านดอลล่าร์ในปี ค.ศ. 1921 และรัฐบาลโคลอมเบียรับรองความเป็นเอกราชของปานามาในสนธิสัญญาธอมสัน-อูรูเตีย
ชอบกดไลค์ ใช่กดแชร์… สนับสนุนผู้เขียนครับ 🙂