เกษมบัณฑิต ขยับสกอร์ขึ้น เป็น อันดับที่ 4

เกษมบัณฑิต ขยับสกอร์ขึ้น เป็น อันดับที่ 4 ในศึกบอลโกแฮร์ยูลีกหญิง

     เมื่อ”แข้งสาวสิงห์ร่มเกล้าแห่งมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ไปเยือน ทีม”แข้งสาวเมืองเจดีย์ใหญ่แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พร้อมกับ เชือดเอาชนะไปได้อย่างสุดมัน 4 ประตูต่อ 1 ในศึกลูกหนังโกแฮร์ยูลีกหญิงชิงถ้วยประทาน “กรมหมื่นสุทธนารีนาถ” เมื่อวันอังคารที่ 3 พ.ย. แซง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กลับไปอยู่ที่ 4 ของตารางสรุปคะแนนอีกครั้งในขณะที่เจ้าบ้าน คะแนนไม่ขยับ อยู่อันดับ 7 ที่เดิม

​การแข่งขันฟุตบอลโกแฮร์ลีกอุดมศึกษาหญิงแห่งประเทศไทย ประจำปี 2563 ชิงถ้วยประทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เมื่อวันอังคารที่ 3 พ.ย.เป็นการแข่งขันนัดที่ 11 ของฤดูกาล มีแข่งขันคู่เดียวที่สนามมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยนัดนี้ “แข้งสาวเมืองเจดีย์ใหญ่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ทีมอันดับ 7 ของตาราง เปิดบ้านรับการไปเยือนของ “แข้งสาวสิงห์ร่มเกล้ามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ทีมอันดับ 5 ของตาราง เจ้าบ้านส่งทีมที่ดีที่สุดลงสนาม มี “ไอซ์พิตตินันท์ บาคาล และ“เมย์ศิยพร เมฆวัน นำทัพ ส่วนทีมเยือน ส่ง “ไอซ์
ศิริวรรณ ศรีมงคล และ “แอมจันทกานต์ พรมใจรักษ์ ลงสนาม เปิดเกมเตะกันแค่นาทีเดียว เป็นเจ้าบ้าน ที่ออกนำอย่างรวดเร็วจากประตูของ “เมย์ศิยพร เมฆวัน แต่ทีมเยือนตามเอาคืนเร็วจาก “แอ๋มสุดารัตน์ ทวีสุข นาทีที่ 17 จากนั้น ทั้งสองทีมทประตูเพิ่มไม่ได้ จบครึ่งแรก เสมอกันที่ 1 ประตู่ต่อ 1

​ครึ่งหลังเป็นทีมเยือนที่ทำได้ดีกว่า เดินหน้าบุกใส่เจ้าบ้าน และทำประตูแซงขึ้นนำ 2 ประตูต่อ 1 จาก “ แอ๋มสุดารัตน์ ทวีสุข คนเดิม นาทีที่ 52 จากนั้น  “แอมจันทกานต์ พรมใจรักษ์ ยิงให้ทีมเยือนนำห่าง 3-1 ในนาทีที่ 67

       และในนาที่ 89 “แอ๋มสุดารัตน์ ทวีสุข ทำแฮททริก  ปิดท้ายให้ทีมเยือน จบเกม เกษมบัณฑิต ชนะไป 4 ประตูต่อ 1 คว้า 3 แต้มกลับร่มเกล้าได้สำเร็จ

​ชนะนัดนี้ ทำให้ เกษมบัณฑิต มี 18 คะแนนจาก 11 นัด แซง มรภ.สวนสุนันทา กลับขึ้นไปอยู่อันดับ 4 ส่วนนครปฐม แพ้นัดนี้ มี 12 แต้ม เท่าเดิม อยู่ที่ 7

​สำหรับวันพุธที่ 4 พ.ย.ไม่มีคิวแข่งขัน แต่จะไปเตะพร้อมกันวันพฤหัสบดีที่ 5 พ.ย. รวม 2 คู่ คู่แรก เริ่มเวลา 15.00 น.เป็นคู่ระหว่าง “ลูกสุริยะมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กับ “ลูกพระนางมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่สนามศูนย์กีฬาพณิชยาการราชดำเนิน  และอีกคู่เริ่มเวลา 16.00 น. “วาฬบลูด้ามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสมุทรสาคร จะเปิดบ้านรับการไปเยือนของ “แข้งสาวเมืองดอกบัวมหาวิทยาลัยปทุมธานี ทั้ง  2 คู่ถ่ายทอดสดเฟซบุค Women University League และวันศุกร์ที่ 6 พ.ย.คู่ถ่ายทอดสด NBT 2 HD ระหว่าง “ลูกพระพิรุณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับ “ฉลามสาวมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี เริ่มเวลา 15.05 น.

เกษมบัณฑิต

บทความก่อนหน้า

 

คลองเดินเรือสมุทรความย

(อังกฤษ: Panama Canal) เป็นคลองเดินเรือสมุทรความยาว 77 กิโลเมตร สร้างขึ้นบริเวณคอคอดปานามาในประเทศปานามา เพื่อเชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยย่นระยะเวลาที่ต้องไปอ้อมช่องแคบเดรกและแหลมฮอร์น ทางใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ คิดเป็นระยะทางกว่า 22,500 กิโลเมตร[1] ซึ่งมีผลอย่างยิ่งต่อการเดินเรือระหว่างสองมหาสมุทร โดยถูกใช้เป็นเส้นทางเดินเรือหลักสำหรับการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ตั้งแต่เปิดทำการ คลองปานามาประสบความสำเร็จและเป็นกุญแจสำคัญในการขนส่งสินค้าทั่วโลก จำนวนเรือที่ผ่านคลองปานามาเพิ่มขึ้นจาก 1,000 ลำต่อปีในยุคแรกเริ่ม มาเป็น 14,702 ลำต่อปี ในปี ค.ศ. 2008 มีระวางขับน้ำรวมทั้งสิ้น 309.6 ล้านตัน (คิดเป็นประมาณ 40 ลำต่อวัน ประมาณร้อยละ 5 ของเรือบรรทุกสินค้าทั่วโลก)

าตั้งแต่คริสต์ศตวรรษ

แนวความคิดในการขุดคลองปานามามีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 ก่อนที่จะเริ่มการก่อสร้างครั้งแรกในปี ค.ศ. 1880 โดยบริษัทสัญชาติฝรั่งเศสภายใต้การบริหารของนายแฟร์ดินองด์ เดอ เลสเซ็ปส์ แต่ก็ล้มเหลวไป มีคนงานกว่า 21,900 คนเสียชีวิต มักมีสาเหตุจากโรคระบาด (มาลาเรียหรือไข้เหลือง) และดินถล่ม จนกระทั่งสหรัฐอเมริกาเข้ามาดำเนินงานต่อ โดยมีผู้เสียชีวิตราว 5,600 คน จนกระทั่งสามารถเปิดใช้งานได้เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1914 นับเป็นหนึ่งในโครงการวิศวกรรมที่ใหญ่ที่สุดและยากลำบากที่สุดที่เคยมีมา\ หลักฐานที่มีการอ้างถึงคอคอดในอเมริกากลาง ย้อนไปเมื่อปี ค.ศ. 1524 เมื่อจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และกษัตริย์แห่งสเปนพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า จักรพรรดิชาลส์ที่ 5 ได้ทรงแนะนำว่า การสร้างคลองผ่านปานามาจะสร้างความสะดวกในการเดินเรือสัญจรไปมาระหว่างสเปนกับเปรู[3] รวมไปถึงสร้างความได้เปรียบทางยุทธวิธีเหนือโปรตุเกส[4] ระหว่างการสำรวจโดยคณะสำรวจของพระองค์ระหว่างปี ค.ศ. 1788-1793 โดย อเลสซานโดร มาลาสปินาได้เสนอความเป็นไปได้และวางแผนโครงสร้างของคลอง[5]

นจุดยุทธศาสตร์ คือเป็นแผ่นเรื่อ

อเมริกากลางถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ คือเป็นแผ่นดินที่มีลักษณะแคบ แบ่งโดยมหาสมุทรขนาดใหญ่ 2 มหาสมุทร ความพยายามที่จะเชื่อมการค้าเกิดขึ้นมานานหลายปีแล้วในบริเวณนี้ ในปี ค.ศ. 1698 สกอตแลนด์ได้พยายามเข้ามาตั้งฐานการค้าบริเวณคอคอดปานามา โดยใช้แผนดารีเอน แต่เนื่องจากเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ไม่เอื้ออำนวย ในที่สุดก็ได้ออกจากปานามาไปในปี ค.ศ. 1700[6] และในที่สุดการรถไฟในปานามาก็ได้เกิดขึ้นเพื่อข้ามคอคอดนี้ได้เปิดใช้ในปี ค.ศ. 1855 เส้นทางสัญจรนี้ได้เอื้อหนุนให้การค้ามีความสะดวกขึ้น และเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของการเลือกสร้างคลองเชื่อมคอคอดปานามาในภายหลัง

ฟุตบอลยูโรปา ลีกวามคิดในเรื่อ

การรื้อฟื้นแนวความคิดในเรื่องการเชื่อมทางน้ำต่อกันระหว่างมหาสมุทรทั้ง 2 มหาสมุทรเกิดขึ้นอยู่หลายครั้งหลายครา อย่างทางเชื่อมผ่านนิการากัวก็ได้มีการสำรวจอยู่บ่อยครั้ง รวมทั้งคลองปานามา เองเป็นหนึ่งในสองโครงการขุดคลองที่เคยดำริมาตั้งแต่ยุคสเปนเรืองอำนาจคริสต์ศตวรรษที่ 16 แล้ว[7] จนในที่สุด การประสบความสำเร็จของการสร้างคลองสุเอซ รัฐบาลโคลอมเบียได้ให้สัมปทานกับนักผจญภัยชาวฝรั่งเศสชื่อ ลูเซียง นโปเลียน โบนาปาร์ต ไวส์ ในการขุดคลองซึ่งจะเชื่อมระหว่างสองมหาสมุทรในบริเวณจังหวัดปานามา และเขาได้ขายสัมปทานต่อให้กับบริษัทฝรั่งเศสที่บริหารโดยนายแฟร์ดีนอง เดอ เลสเซป ซึ่งดำเนินการขุดคลองปานามาในทันที[8] เขาได้เริ่มขุดคลองจากระดับน้ำทะเล (โดยไม่มีประตูกั้นน้ำ) เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1880 บริษัทฝรั่งเศสได้ทำงานอย่างรีบเร่งโดยขาดการศึกษาที่เพียงพอทั้งทางด้านภูมิประเทศและอุทกวิทยา[9] อีกทั้งโรคภัยไข้เจ็บในภูมิอากาศเขตร้อนที่คนงานก่อสร้างคลองต้องเผชิญทั้งโรคไข้เหลืองและมาลาเรีย คร่าชีวิตคนงานเป็นจำนวนมากและทำให้การก่อสร้างไม่คืบหน้าเท่าที่ควร[8] เป็นเหตุให้คนงานต่างหวาดกลัวและหนีกลับฝรั่งเศส[9] ในปี ค.ศ. 1883 บริษัทฝรั่งเศสที่ได้สัมปทานไม่สามารถทำงานต่อได้ เนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บและความลำบากในการขุดคลองในระดับน้ำทะเล การขาดประสบการณ์ภาคสนามของคนงาน อย่างเช่น การเก็บเครื่องมือที่เจอห่าฝนไม่ดี ทำให้เกิดสนิมจับ[10] แต่ปัญหาหลักคือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จากโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้น นับจำนวนคนที่เสียชีวิตระหว่างการขุดคลองปานามา (ระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1881 – 1889) ได้กว่า 22,000 คน[9] จากหนังสือ Overthrow ของสตีเฟน คินเซอร์ในปี ค.ศ. 2006 ได้กล่าวไว้ว่าในปี ค.ศ. 1898 หัวหน้าคนหนึ่งในองค์การเกี่ยวกับคลองของฝรั่งเศส คือ ฟีลีป-ชอง บูโน-วารียา ได้จ้างวิลเลียม เนลสัน ครอมเวลล์ เพื่อโกงจากสภาคองเกรสของอเมริกา ที่จะสร้างคลองปานามา ไม่ใช่คลองที่ข้ามจากนิการากัว[11]